การเลี้ยงปลาไหลแบบถัง สำหรับท่านผู้ฝึกทำเริ่มต้นไปสู่ฟาร์มใหญ่

0

การเลี้ยงปลาไหลแบบถัง สำหรับท่านผู้ฝึกทำเริ่มต้นไปสู่ฟาร์มใหญ่

ส่วนผสมดินก็จะมี

ชั้นที่ 1 ใส่หญ้าแห้ง

ชั้นที่ 2 ใส่หยวกกล้วย

ชั้นที่ 3 ใส่มูลสัตว์ และอาหาร ทำสลับกันไปเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ

ชั้นบนสุด ใส่น้ำให้มีระดับความสูง ประมาณ 10-15 ซม จากนั้นนำพืชน้ำ อาทิ ผักตบ ผักบุ้งมาใส่ในบ่อเพื่อเลียนแบบธรรมชาติ

โดยให้ใส่พอประมาณ และทุกชั้นควรรดด้วยจุลินทรีย์ EM จากนั้นหมักทิ้งไว้ 15 วัน

นำพืชน้ำ อาทิ ผักตบ ผักบุ้งใส่ลงในบ่อเพื่อเลียนแบบธรรมชาติ (ใส่พอประมาณ)

การเลี้ยง

ให้นำปลาไหลปล่อยลงเลี้ยง ในบ่อหมักที่เตรียมไว้ ขนาดปลาไหลที่จะเลี้ยงควรมีขนาดตัวประมาณ 2-3 ซม.ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับขายได้

อาหาร/การให้อาหาร

การอนุบาลลูกปลาไหล

หลังจากที่ลูกปลาไหลฟักออกแล้ว 3-5 วัน ให้เริ่มให้อาหารด้วยไข่ต้มบด และไรแดง 2 ครั้ง/วัน เช้า และเย็นเป็นเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากนั้น จึงให้อาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หนอนแดง หรือ ไส้เดือนขนาดเล็ก นาน อีก 1 เดือน จึงพร้อมปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป

การให้อาหารจะให้เดือนละครั้ง

อาหารที่ให้ เช่น ซากสัตว์ที่ตาย ไส้หมู, หนังควาย ปลวกไส้เดือน หอย หนอน

หมายเหตุ : พันธุ์ปลาไหลหาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามคลองน้ำ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป (โดยเฉพาะตามรากผักตบชวา)

วิธีทำหัวเชื้อ EM

สูตรที่ 1

วัสดุ และส่วนผสม

– กากน้ำตาล 5 ลิตร

– น้ำมะพร้าว 2 ลูก

– น้ำสะอาด 25 ลิตร

– สับปะรดสุก 5 หัว

– ถังพลาสติก พร้อมฝาปิด 40 ลิตร 1 ใบ

วิธีการทำ

– หั่นสับปะรดให้เป็นชิ้นเล็กๆ

– นำสับปะรด น้ำมะพร้าว กากน้ำตาล และน้ำผสมรวมกันในถัง

– คลุกเคล้าส่วนประกอบให้เข้ากัน แล้วปิดฝานำพักไว้ในที่ร่ม

– คลุกกลับส่วนผสมทุกๆ 2 วัน/ครั้ง นาน 1อาทิตย์

– หมักไว้นาน 1-2 เดือน ก็จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์

สูตรที่ 2

วัสดุ และส่วนผสม

– กากน้ำตาล 5 ลิตร

– น้ำสะอาด 20 ลิตร

– เศษผัก 10 กก.

– ถังพลาสติก พร้อมฝาปิด 40 ลิตร 1 ใบ

วิธีการทำ

– หั่นเศษผักให้เป็นชิ้นเล็กๆ

– นำเศษผัก กากน้ำตาล และน้ำผสมรวมกันในถัง

– ขั้นตอนต่อไปคล้ายกับสูตรที่ 1

วิธีขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์

วิธีขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์ ทำได้โดยนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ส่วน ประมาณ 100 ซีซี ผสมกับกากน้ำตาล 2 ลิตร และน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วหมักทิ้งไว้ในถังปิดสนิท นาน 7-14 วัน ก็สามารถนำไปใช้พ่นหรือราดในแปลงเกษตรได้

วิธีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ EM

1. พืชผักทางการเกษตร

– นำน้ำเชื้อ EM ที่ขยายแล้วมาผสมกับน้ำ 100 เท่า (น้ำเชื้อ EM 1 ลิตร กับน้ำ 100 ลิตร ) ฉีดพ่นหรือรดแปลงผักทุก 1-2 สัปดาห์/ครั้ง

– นำน้ำเชื้อ EM ผสมกับน้ำในอัตราข้างต้น นำไปราดหรือรดโคนไม้ผล หรือ นำไปฉีดพ่นทรงพุ่มไม้ผลในระยะแตกใบ และระยะออกดอก

2. การประมง

– นำน้ำเชื้อ EM ที่ขยายแล้ว ราดเทใส่บ่อเลี้ยงกุ้งหรือเลี้ยงปลา อัตรา 100 ลิตร/บ่อ 1 ไร่ ซึ่งจะช่วยลดค่า BOD หรือความสกปรกในน้ำ ทำให้น้ำสะอาดขึ้น รวมถึงช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในสัตว์น้ำได้

3. ปศุสัตว์หรือการเลี้ยงสัตว์

– นำน้ำเชื้อ EM ที่ขยายแล้วมาคลุกผสมกับอาหารสัตว์ที่ให้แก่โค กระบือ อัตรา 1 ลิตร/อาหาร 10 กิโลกรัม ซึ่งจะช่วยเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในกระเพาะรูเมน และเร่งอัตราการย่อยอาหาร

– นำน้ำเชื้อ EM ที่ขยายแล้ว ผสมรวมกับอาหารหยาบของโค กระบือ เพื่อหมักอาหารหยาบ เช่น ฟางข้าว หญ้าอาหารสัตว์ ก่อนนำมาเลี้ยง ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารหยาบให้รวดเร็วขึ้น

– นำน้ำเชื้อ EM 1 ลิตร ที่ขยายแล้ว ผสมกับน้ำ 100 ลิตร ล้างทำความสะอาดตัวสัตว์ ซึ่งจะช่วยป้องกันแมลงตัวห้ำ และแมลงดูดเลือดที่จะมาเกาะบนตัวสัตว์

– นำน้ำเชื้อ EM 1 ลิตร ที่ขยายแล้ว ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์ ซึ่งจะช่วยย่อยสลายซากพืชหรือมูลสัตว์ทำให้กลิ่นเหม็นลดลง

4. ด้านสิ่งแวดล้อม

– นำน้ำเชื้อ EM ที่ขยายแล้ว เทราดในบ่อบำบัดน้ำเสีย อัตรา 10 ลิตร/น้ำเสีย 10 ลบ.ม ซึ่งจะช่วยย่อยสลายความสกปรกให้รวดเร็วขึ้น ทำให้ค่า BOD ในน้ำลดลง

– นำน้ำเชื้อ EM ที่ขยายแล้ว เทราดในส้วม รางระบายน้ำ หรือ ท่อระบายน้ำ ซึ่งจะช่วยย่อยสลายสิ่งสกปรก และช่วยลดกลิ่นเหม็น

การเก็บรักษา และข้อพึงระวัง

– ไม่สามารถทนต่อยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ และสารเคมี จึงห้ามผสมสารเหล่านี้

– เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ไม่ให้อากาศเข้า

– หลีกเลี่ยงการเก็บหรือวางทิ้งไว้บริเวณแดดส่องถึงหรือใกล้แหล่งความร้อนต่างๆ

– มีอายุสามารถเก็บไว้ได้นาน 8-12 เดือน ภายใต้อุณหภูมิปกติ และอยู่ในที่ร่ม

– หากมีการแบ่งใช้ ต้องปิดฝาภาชนะบรรจุให้สนิททุกครั้ง

– หากพบน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์มีสีดำ และส่งกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ตายหมดแล้ว ไม่สามารถนำไปใช้ได้

– หากเกิดแผ่นสีขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา แนะนำให้ตักคราบด้าบนออก เติมกากน้ำตาลเพิ่ม และหมักต่อ

ขอขอบคุณเจ้าของภาพจากเกษตรอินโดนีเซียครับ

ขอบคุณที่มา : ศูนย์รวมความรู้เกษตรพอเพียง

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่